วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

20. งบประมาณ

20. งบประมาณ
http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&qได้รวบรวมแล้วกล่าวถึง งบประมาณ (budget) หมายถึง การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรบ่างเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
        1 เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
        2 ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
        3 ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
        4 ค่าครุภัณฑ์
        5 ค่าประมวลผลข้อมูล
        6 ค่าพิมพ์รายงาน
        7 ค่าจัดประชุมวิชาการ  เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบ
                  โครงการแล้ว
        8 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
        อย่างไรก็ตาม แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยแต่ละแห่งอาจกำหนดรายละเอียดของการเขียนงบประมาณแตกต่างกัน  ผู้ที่จะขอทุนวิจัยจึงควรศึกษาวิธีการเขียนงบประมาณของแหล่งทุนที่ตนต้องการขอทุนสนับสนุน และควรทราบถึงยอดเงินงบประมาณสูงสุดต่อโครงการที่แหล่งทุนนั้นๆ จะให้การสนับสนุนด้วย  เนื่องจากถ้าผู้วิจัยตั้งงบประมาณไว้สูงเกินไป โอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนก็จะมีน้อยมาก
                สมนึก  เอื้อจิระพงษ์พันธ์ ( 2539 : 201 – 249)  ให้ความหมายไว้ คือ งบประมาณ หมายถึงแผนการดำเนินงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรขององค์การใดองค์การหนึ่ง สำหรับระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งในภายหน้า ซึ่งแผนการดำเนินงานนี้อาจจะมีลักษณะเป็นแผนระยะยาว เช่น งบประมาณที่มีระยะเวลา 3 ปี  5 ปี  หรือ 10  ปี  หรืออาจจะเป็นแผนระยะสั้น  เช่น  งบประมาณรายเดือน 3 เดือน  6  เดือน  หรือ 1 ปี 
                กิ่งกนก พิทยานุคุณ  (2527 : 152 –160) ได้สรุปความหมายของงบประมาณ คือ การจำกัดวงเงินที่จะใช้งบประมาณประจำปี  เป็นการแสดงวัตถุประสงค์ที่ฝ่ายบริหารมีอยู่ในขณะนั้นออกมาเป็นตัวเลข รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงแผนการดำเนินงาน และวิธีการจัดหาเงินมาใช้ในองค์การ ในระหว่างปีด้วย
สรุป        งบประมาณ หมายถึง แผนการดำเนินงานในการจัดหาเงินมาใช้ในกิจการ ซึ่งจะแสดงเป็นตัวเลข ในรูปของจำนวนหน่วยและจำนวนเงินที่จะใช้ดำเนินงาน  สำหรับระยะเวลาในภายหน้า การจัดทำงบประมาณจะจัดทำล่วงหน้า   ถ้าเป็นงบประมาณระยะสั้นก็จะมีระยะเวลา 3 เดือน  6 เดือน  หรือ  1 ปี   และถ้าเป็นงบประมาณระยะยาวจะมีระยะเวลา  3  ปี   5  ปี   การจัดทำงบประมาณมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ในทางการบริหาร   และเป็นที่ยอมรับสำหรับการช่วยตัดสินใจของผู้บริหารได้
อ้างอิง
http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q สืบค้นเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2555.
สมนึก  เอื้อจิระพงษ์พันธ์.  ( 2539 ). การบัญชีต้นทุน  แนวคิดและการประยุกต์เพื่อการตัดสินใจเชิงการ
บริหาร.  กรุงเทพ : หจก. สยามเตชั่นเนอรี่ ซัพพลายส์.
                 กิ่งกนก   พิทยานุคุณ. ( 2527 ).  การบัญชีต้น. ทุนกรุงเทพ  : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น