วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

3. ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

3.   ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
                ปิยมาภรณ์ โชคอวยชัย  ( https://docs.google.com/viewer. )ได้รวบรวมและกล่าวถึง การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัย ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่อง หรือประเด็นปัญหา การวิจัยจากวารสาร
หนังสือ ตํารา รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ ฯลฯ จุดมุ่งหมายของการทบทวนรวบรวมแนวคิดในการตั้งปัญหาการวิจัย
1. มีความรอบรูปในข้อเท็จจริงที่เป็นที่ยอมรับ
2. การเตรียมกรอบทฤษฎีในการวิจัย
3. ประเมินความเป็นไปได้ในการทําวิจัย
4. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการ และเครื่องมือวิจัย
5. ศึกษาผลงานวิจัยที่ทํามาแล้ว
6. สร้างความคุ้นเคยกับวิธีการศึกษา และข้อมูล
จักรกฤษณ์ สำราญใจ   ( http://netra.lpru.ac.th. )ได้รวบรวมและกล่าวถึง การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องว่า          วรรณกรรมหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง  (related literature) หมายถึง  เอกสารงานเขียนที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจ  วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอาจมีหลายลักษณะ เช่น เป็นตำรา สารานุกรม  พจนานุกรม นามานุกรม ดัชนี รายงานสถิติ หนังสือรายปี บทความในวารสาร จุลสาร  ที่สำคัญก็คือรายงานผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น  ผู้วิจัยจะต้องทำการสำรวจอ่านทบทวนอย่างพินิจพิเคราะห์  ทักษะที่สำคัญของการทำวิจัยในขั้นตอนนี้คือ ทักษะในการสืบค้นหาสารนิเทศจากแหล่งต่าง ๆ และทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
สุวิมล ติรกานันท์  (2548 : 53) กล่าว่าการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องนั้นมี 5 ประการ ดังนี้
1.ป้องกันการทำซ้ำซ้อน
2.ทำให้สามารถกำหนดขอบเขตได้ชัดเจนไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป
3.ทำให้ผู้วิจัยเสนอแนวคิดหรืออภิปรายผลงานวิจัยที่ค้นพบได้ถูกต้องและกว้างขว้างครอบคลุมประเด็นที่ต้องศึกษา
4.เตรียมการป้องกันความคลาดเคลื่อนเนื่องจากตัวแปรแทรกซ้อน
5.ช่วยทำให้ผู้วิจัยมีความรู้ในเรื่องที่ทำการวิจัยมากขึ้น เป็นการทบทวนความรู้เดิมและเพิ่มเติมความรู้ใหม่ ในเวลาเดียวกัน
สรุป        1.ทำให้สามารถกำหนดขอบเขตได้ชัดเจนไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป
2.ทำให้ผู้วิจัยเสนอแนวคิดหรืออภิปรายผลงานวิจัยที่ค้นพบได้ถูกต้องและกว้างขว้างครอบคลุมประเด็นที่ต้องศึกษา
3.ช่วยในการเลือกหัวข้อวิจัยได้ตรงจุดมากขึ้น
4.หลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อน
5.ช่วยทำให้ผู้วิจัยมีความรู้ในเรื่องที่ทำการวิจัยมากขึ้น เป็นการทบทวนความรู้เดิมและเพิ่มเติมความรู้ใหม่ ในเวลาเดียวกัน
6.เพื่อค้นหาความจริงเป็นความจริงระดับสูงที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าเป็นอย่างไร
7.ช่วยหลีกเลี่ยงการทำวิจัยที่มีความสำคัญน้อยและซ้ำซ้อนกัน
อ้างอิง
ปิยมาภรณ์ โชคอวยชัย . (2555, ธันวาคม 22 ). ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง . https://docs.google.com/viewer.
จักรกฤษณ์ สำราญใจ. (2555, ธันวาคม 22 ). ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง .  http://netra.lpru.ac.th.
สุวิมล ติรภานันท์. (2548). ระเบียบการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : กรุงเทพฯ . คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น