วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

5. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

5.   วัตถุประสงค์ของการวิจัย
                https://docs.google.com/viewer? ได้รวบรวมและกล่าวถึง วัตถุประสงค์   เป็นการบอกจุดมุ่งหมายในการทำวิจัยเรื่องนี้  ศ.ดร.นงลักษณ์  วิรัชชัย บอกไว้ว่าการกำหนดวัตถุประสงค์อย่างแรกที่ใช้  คือ  เพื่อบรรยาย   ต่อมาก็ เพื่อสำรวจ  ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ที่ทำได้ง่ายที่สุด   สูงขึ้นมาก็คือ  เพื่อเปรียบเทียบ   สูงขึ้นมาอีกก็คือ  เพื่ออธิบาย      สูงขึ้นไปอีกก็คือ  เพื่อทำนายว่าในอนาคตจะเกิดอย่างไร สูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งก็คือ เพื่อสังเคราะห์ผลการวิจัย  ดีไปกว่านั้นก็คือ เพื่อประเมิน   และอันสุดท้าย  คือ  เพื่อพัฒนาและตรวจสอบ  เป็นวัตถุประสงค์ขั้นสูงสุดที่นักวิจัยอยากจะตั้งวัตถุประสงค์ให้ถึงขั้นนี้
              http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q? ได้รวบรวมและกล่าวถึง วัตถุประสงค์   เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
        1    วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective)กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด
                  ตัวอย่างเช่น
                  เพื่อศึกษาถึงปฏิสัมพันธ์ และความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
        2    วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง ตัวอย่างเช่น
                  2.1    เพื่อศึกษาถึงรูปแบบปฏิสัมพันธ์และการปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
                  2.2    เพื่อศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
ประคอง สาธรรมได้รวบรวมและกล่าวถึง วัตถุประสงค์   การตั้งวัตถุประสงค์การวิจัยการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย(Research Objectives)
เมื่อกำหนดคำถามวิจัยได้แล้ว ผู้วิจัยจึงตั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัย วันนี้จึงรวบรวมหลักการ วิธีการ เขียนวัตถุประสงค์การวิจัย และข้อควรระวัง มาเสนอไว้ดังนี้ค่ะ
        วัตถุประสงค์ของการวิจัย(Research Objectives) หรือบางท่าน สถาบันกำหนดรุปแบบโดยใช้คำว่า จุดมุ่งหมายการวิจัย (Research purposes) ในการเขียนรายงานวิทยานิพนธ์
             สิทธิ์  ธีรสรณ์  (2552 : 60) กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัย(Research Objectives) หรือ จุดมุ่งหมายการวิจัย (Research purposes) เป็นการระบุกิจกรรมหรืองานที่ผู้วิจัยต้องทำ ในอันที่จะได้มาซึ่งคำตอบในการวิจัย
              สิน พันธุ์พินิจ  (2553 : 74) กล่าวถึงการกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย ไว้ว่า วัตถุประสงค์การวิจัยเป็นเสมือนเข็มทิศการดำเนินการวิจัย ช่วยให้เราทราบว่าเราจะค้นหาคำตอบอะไรจากข้อคำถามบ้าง การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยก็เป็นการจำแนกประเด็นการวิจัย หรือตัวแปรออกมาให้เห็นเป็นข้อย่อยที่ชัดเจน มีความเป็นวัตถุวิสัย และสามารถดำเนินการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม
สรุป        วัตถุประสงค์ของการวิจัย เป็นทิศทางของการดำเนินการวิจัยและทำให้เกิดความชัดเจนว่าในการวิจัยเรื่องนั้น ๆ ต้องการศึกษาอะไรในด้านใดบ้าง มีวัตถุประสงค์หลักหรือวัตถุประสงค์ย่อย ๆ อะไรบ้าง โดยปรกติวัตถุประสงค์ของการวิจัยจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยทำให้ชื่อเรื่องหรือปัญหาการวิจัยมีความชัดเจนมากขึ้น     
อ้างอิง
 https://docs.google.com/viewer? สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม  2555.
              http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม  2555.
สิทธิ์  ธีรสรณ์. (2552). เทคนิคการเขียนรายงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3).  กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิน พันธุ์พินิจ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : วิทยพัฒน์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น