วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

7. กรอบแนวความคิดในการวิจัย*

7.   กรอบแนวความคิดในการวิจัย* 
            http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=ได้รวบรวมและกล่าวถึง  กรอบแนวคิดในการวิจัย นำเอาสมมติฐานต่างๆ ที่เขียนไว้มารวมกันให้เป็นระบบและมีความเชื่อมโยงกันในลักษณะที่เป็นกรอบแนวความคิดของการศึกษาวิจัยทั้งเรื่อง เช่น จะศึกษาถึง พฤติกรรมสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยของคนงาน อาจต้องแสดง (นิยมทำเป็นแผนภูมิ) ถึงที่มาหรือปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดในพฤติกรรมดังกล่าว หรือในทางกลับกัน ผู้วิจัยอาจกำหนดกรอบแนวความคิดของการวิจัย ซึ่งระบุว่าการวิจัยนี้มีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไรก่อน แล้วจึงเขียนสมมติฐานที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในลักษณะที่เป็นข้อๆ ในภายหลัง
พัชรา  สินลอยมา ( 2555 )ได้รวบรวมและกล่าวถึง  กรอบแนวคิดในการวิจัย หมายถึง  กรอบของการวิจัยในด้านเนื้อหาสาระ  ซึ่งประกอบด้วยตัวแปร  และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร  ในการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย  ผู้วิจัยจะต้องมีกรอบพื้นฐานทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาและมโนภาพ(concept)ในเรื่องนั้น  แล้วนำมาประมวลเป็นกรอบในการกำหนดตัวแปรและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ  ในลักษณะของกรอบแนวคิดการวิจัยและพัฒนาเป็นแบบจำลองในการวิจัยต่อไป
พิชิต  ฤทธิ์จรูญ (2550 : 9) แนวคิดหรือแบบจำลองที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยใช้ทฤษฎีข้อสรุปเชิงประจักษ์ข้อมูลจากสมมติฐานและผลงานวิจัยในอดีตนำมาสังเคราะห์เพื่อให้ได้ภาพรวมของงานวิจัยเรื่องนั้นเพื่อแทนความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่างปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในเรื่องที่ศึกษานั้นว่ามีแนวคิดที่สำคัญอะไรบ้างในปรากฏการณ์นั้นตัวแปรหรือปรากฏการณ์เชื่อมโยงเกี่ยวกันอย่างไรเพื่อจะนำความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นนี้ไปตรวจสอบข้อมูลเชิงประจักษ์ต่อไปว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่
สรุป        กรอบแนวคิดในการวิจัย (conceptual framework)หมายถึง แนวคิดหรือแบบจำลองที่แสดงถึงแนวคิดอันเป็นโครงสร้างของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ โดยใช้ทฤษฎีและผลการวิจัยในอดีตเพื่อแทนความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์ระหว่างปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในธรรมชาติ และจะนำไปตรวจสอบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ต่อไปว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่  ในการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย  ผู้วิจัยจะต้องมีกรอบพื้นฐานทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาและมโนภาพ(concept)ในเรื่องนั้น  แล้วนำมาประมวลเป็นกรอบในการกำหนดตัวแปรและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ  ในลักษณะของกรอบแนวคิดการวิจัยและพัฒนาเป็นแบบจำลองในการวิจัยต่อไป
อ้างอิง
                 http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q= สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม  2555.
พัชรา  สินลอยมา (2555, ธันวาคม 22 ).กรอบแนวความคิดในการวิจัย.http://www.unc.ac.th/elearning/.
พิชิต  ฤทธิ์จรูญ. ( 2550 ). วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. นครสวรรค์ .

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น