วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

8. ข้อตกลงเบื้องต้น

8.   ข้อตกลงเบื้องต้น
นงลักษณ์ วิรัชชัย ( 2537 )ได้รวบรวมและกล่าวถึง  การเขียนข้อตกลงเบื้องต้นนั้น ผู้วิจัยจะต้องถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญ และชี้ให้เห็นถึงประเด็นปัญหาของงานวิจัยที่เป็นความจริง เป็นพื้นฐานความเชื่อเบื้องต้น และเป็นที่ยอมรับกัน และไม่ต้องการพิสูจน์ โดยอาศัยการใช้หลักฐาน และการยืนยันจากข้อมูลเบื้องต้น หรือทฤษฎี ข้อตกลงเบื้องต้นนั้น มักต้องอาศัยข้อเท็จจริง ความเชื่อ ทฤษฎี กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ข้อผิดพลาดที่บังเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หรือสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย เป็นต้นว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มีความเหมือน ๆ กันด้านใดบ้าง หรือแตกต่างอย่างไรบ้าง แล้วตกลง หรือวางเงื่อนไขตามความเป็นจริงไว้เสียก่อน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควรระลึกถึงคือ ไม่ควรตกลงเกินขอบเขตที่ควรจะตกลงได้ เช่น ตกลงไว้ก่อนว่า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีความเชื่อถือได้โดยปกติ แล้วการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นนั้น อาจใช้แนวทางการอ้างอิงไว้ในข้อตกลงเบื้องต้นด้วยคือ
1. ความมีเหตุผล                
2. หลักฐานข้อเท็จจริง
3. แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
ในการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นที่น่าเชื่อถือได้นั้น ก็ควรจะชี้แจงให้เหตุผลอยู่ในตัวของมันเอง อย่างน้อยหนึ่งใน 3 อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นข้อตกลงที่เชื่อถือไม่ได้
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/assumpt1.htmได้รวบรวมและกล่าวถึง  ข้อตกลงเบื้องต้น เป็นข้อความที่แสดงถึงสิ่งที่เป็นจริงอยู่แล้วโดยไม่ต้องนำมาพิสูจน์อีก และการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นมีประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้อ่านและผู้วิจัยมีความเข้าใจตรงกันในประเด็นที่อาจเป็นปัญหาในการดำเนินการวิจัย และข้องใจในผลการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้นอาจมาจากหลักการ ทฤษฎี หรือผลการวิจัยอื่นๆ เช่น การกำหนดข้อตกลงเบื้องต้นว่า คำตอบของกลุ่มตัวอย่างนั้น ถือว่าเป็นคำตอบที่ตรงกับความรู้สึกที่แท้จริงเป็นต้น เพราะถ้าไม่เชื่อว่ากลุ่มตัวอย่างจะตอบตรงความคิดหรือความรู้สึกที่เป็นจริงแล้ว ข้อมูลที่ได้จะขาดความตรง ผลการวิจัยก็จะไม่เกิดประโยชน์
พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544 : 376) เป็นการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการทำวิจัยและผลการวิจัยที่ได้รับซึ่งจะต้องเป็นที่ยอมรับได้ โดยไม่ต้องพิสูจน์แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักเหตุผล มีหลักฐานข้อเท็จจริงสนับสนุนอ้างอิงและเชื่อถือได้

สรุป  เป็นการเขียนเพื่อแถลงการให้ผู้อ่านทราบกรอบบังคับหรือปัจจัยพื้นฐานบางประการที่ทำให้การดำเนินการวิจัยไม่สามารถกระทำได้อย่างสมบูรณ์เท่าที่ควรจะเป็น อันเป็นผลให้ข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษาวิจัยสรุปอ้างอิงไปสู่ประชากรภายใต้ขอบเขตจำกัด ๆไม่สามารถขยายข้อค้นพบจากการวิจัยไปสู่วงกว้างได้ กล่าวคือการกำหนดขอบเขตของการวิจัยให้กว้างหรือแคบมีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อจำกัดของการศึกษาวิจัย

อ้างอิง
นงลักษณ์ วิรัชชัย ( 2537 ).จากสาส์นการวิจัย ฝ่ายวิจัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 2 ฉบับที่ 5 http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/assumpt1.htm สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2555.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ ( 2544 ) . ระเบียบวิธีการวิจัยทางสัมคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น