วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

6. สมมติฐาน

6.   สมมติฐาน
                https://docs.google.com/viewer? ได้รวบรวมและกล่าวถึง สมมติฐานของการวิจัย  เป็นการคาดคะเนผลที่จะได้จากการพิสูจน์ โดยการแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ทดสอบหรือพิสูจน์ได้  ซึ่งต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการวิจัย  ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพจะไม่เขียนสมมติฐานการวิจัย
              http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=ได้รวบรวมและกล่าวถึง  การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) เช่น การติดเฮโรอีนชนิดฉีด เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเอดส์ สมมติฐานทำหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานต้องตอบวัตถูประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและทดสอบและวัดได้
http://pibul2.psru.ac.th/~buncha/Chp4_1.htmได้รวบรวมและกล่าวถึง  สมมติฐานหมายถึง ความเชื่อของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือ ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรืออาจกล่าวได้ว่า สมมติฐานเป็นสิ่งที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลคาดว่าจะเกิดขึ้น โดยที่ความเชื่อหรือสิ่งที่คาดนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ก็ได้
สรุป        สมมติฐาน (Hypothesis) หมายถึง แนวทางในการหาข้อเท็จจริงที่เป็นคำตอบของการวิจัยซึ่งผู้วิจัยคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผล โดยมีหลักการและทฤษฎีต่างๆรองรับ ซึ่งเป็นข้อความที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป ซึ่งการคาดการณ์หรือการคาดคะเนของผู้วิจัยนี้อาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ซึ่งจะต้องมีการพิสูจน์โดยอาศัยวิธีการทางสถิติและข้อมูลเข้ามาช่วย นอกจากนี้สมมติฐานยังช่วยจำกัดขอบเขตของการศึกษาวิจัยให้มีความเฉพาะเจาะจงและรัดกุมมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
                อ้างอิง
https://docs.google.com/viewer? สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม  2555.
                http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&= สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม  2555.
http://pibul2.psru.ac.th/~buncha/Chp4_1.htmสืบค้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม  2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น